DeFi คืออะไรและปฎิวัติอุตสาหกรรมการเงินได้อย่างไร

DeFi คืออะไรและปฎิวัติอุตสาหกรรมการเงินได้อย่างไร Decentralized Finance (DeFi) คือระบบการเงินรูปแบบใหม่ในโลกดิจิทัลที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางและเปิดใช้งานด้วยเทคโนโลยี Blockchain โดยเฉพาะกับ Ethereum blockchain

หากพูดถึงระบบการเงินมันไม่ได้มีเพียงแค่การโอนเงินให้กันเท่านั้น แต่มันมีในเรื่องของการ จำนอง การกู้ยืม การให้ดอกเบี้ย การแลกเปลี่ยนมูลค่า การค้ำประกัน และอื่น ๆ คิดภาพง่าย ๆ ก็คือธุรกรรมที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินในอดีตสามารถทำได้ แต่ด้วยความที่ธุรกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องมีความน่าเชื่อถือ ความเชื่อใจ ระหว่าง “คนกับคน”

จึงมีความจำเป็นต้องมีตัวกลางในทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้มีต้นทุนในการดำเนินงาน กฎระเบียบที่เหมือนกันจากการที่ตัวกลางมีความแตกต่างกัน และความผิดพลาดที่อาจเกิดจากตัวกลางเอง แต่การมาของเทคโนโลยีใหม่นี้ ทำให้เกิดความต้องการระบบการกระจายศูนย์ Decentralization System และต้องการย้ายหน้าที่ดูแลระบบการเงินในสมัยเก่าที่ทำโดยตัวกลาง มาสู่ระบบกระจายศูนย์ที่ทำเองได้ด้วยตัวเอง

ตามระบบและรูปแบบโปรแกรมที่ถูกเขียนเอาไว้ จึงเท่ากับว่าเราย้ายความเชื่อใจจากตัวกลางมาสู่การเชื่อใจระบบ Code เชื่อใจ Smart Contract ที่อยู่บน Blockchain แทนเพราะสามารถตรวจสอบได้จากทุกฝ่าย ให้เราลองนึกภาพธนาคารดิจิทัลที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เปิดให้ชุมชนช่วยกันดูแลระบบ พัฒนาระบบ และยังสามารถทำธุรกรรมได้เหมือนเดิมทุกอย่างภายใต้ต้นทุนที่ถูกลงและความรวดเร็วที่มากขึ้น

DeFi และ Money Legos คืออะไร
ระบบการเงินแบบกระจายอำนาจหมายถึงระบบ Peer-to-peer ด้วยเทคโนโลยีแบบกระจายอำนาจที่สร้างขึ้นบน Blockchain ของ Ethereum เป็นระบบที่ไม่มีใครเป็นศูนย์กลาง และเป็น Open-Source ที่สามารถพัฒนาได้จากผู้ที่สนใจ ทำให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ตลอดเวลาและโต้ตอบกับผู้อื่นได้ผ่านแอปพลิเคชันแบบกระจาย (dApps)

Decentralised Applications คือ แอปพลิเคชันที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์หลายเครื่องแทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว

โปรโตคอลของ DeFi มีการรวมข้อดีของหลาย ๆ สิ่งไว้ด้วยกัน เช่นระบบการเชื่อมต่อเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างง่ายดาย หรือการที่สามารถพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้นได้ในอนาคต

นักลงทุนส่วนใหญ่เปรียบเทียบกระบวนการพัฒนา De-Fi เหมือนกับการสร้างเลโก้ จึงได้รับฉายาว่า การเงินที่ออกแบบได้ (Money Logos)

DeFi จะมาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการเงินแบบเดิมได้อย่างไร
ในปี 2020 มีจำนวนเงินที่อยู่ภายใต้สัญญาอัจฉริยะกว่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่มีการใช้งานมากที่สุดในระบบ Blockchain เพราะสัญญาอัจฉริยะสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือระดับสถาบัน ตั้งแต่แพลตฟอร์มการให้กู้ยืมและการยืมไปจนถึงการซื้อขายแบบมาร์จิ้น DeFi ได้เปิดโลกใหม่สำหรับระบบการเงินแต่นักพัฒนา De-Fi ไม่ได้สร้างเพียงแค่ระบบการเงินแบบใหม่คู่ขนานกับระบบแบบเดิมเท่านั้น แต่พวกเขายังปลดล็อกเครื่องมือทางการเงินใหม่หมด ตั้งแต่สินเชื่อไปจนถึงตลาดการเงินแบบอัตโนมัติ ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยมีใครได้สัมผัสมาก่อนลองคิดง่าย ๆ ดูว่าหากเราทุกคนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและบริการเหล่านี้ได้ การมาของระบบการเงินแบบใหม่ กำลังจะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ให้กับสถาบันการเงินแบบเดิม ๆ นี่อาจเป็นเหตุผลที่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ก็หันมาลงทุนใน BlockFi เพราะต้องการเทคโนโลยีนี้เมื่อต้นปี 2020

นวัตกรรมของ DeFi และกรณีการใช้งาน
มีกรณีการใช้งานและนวัตกรรมของ DeFi มากมายแต่จะขอยกตัวอย่างบางกรณีที่ได้รับความสนใจและความนิยมเป็นจำนวนมาก

DeFi Lending Borrowing การกู้ยืมและปล่อยกู้ด้วย DeFi
การปล่อยกู้ในอดีตเกิดจากคนที่มีสินทรัพย์บางอย่างแต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในตอนนี้ เช่น เงินสด ก็นำมาฝากธนาคาร ธนาคารก็เป็นตัวกลางในการหา “ผู้ที่ต้องการกู้” และมีการทำสัญญาขึ้นจ่ายผลตอบแทนเงินกู้ให้กันเรียกว่า ดอกเบี้ย ในโลกของสินทรัพย์ดิจิทัลก็เช่นเดียวกัน ใครที่ครอบครองสินทรัพย์ดิจิทัลแล้วยังไม่มีความต้องการจะทำอะไร ก็สามารถนำมาเข้าระบบ เพื่อให้อีกฝากหนึ่งของสัญญากู้ไปทำอไรบางอย่าง และได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย เช่น Compound

Saving
ด้วยการเชื่อมต่อกับโปรโตคอลการปล่อยสินเชื่อเช่น Compound แอปพลิเคชัน DeFi จำนวนมากจึงเสนอบัญชีที่มีดอกเบี้ยซึ่งสามารถรับรายได้มากกว่าบัญชีออมทรัพย์ในระบบการเงินแบบเดิม ๆ

กิจกรรมเกี่ยวกับ DeFi อีกอย่างหนึ่งที่เป็นนวัตกรรมการออมเงินก็คือการทำ Yield farming ซึ่งก็คือการที่ผู้ใช้ย้ายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถือไว้เฉย ๆ เอาไปฝากในระบบ และระบบนั้นก็นำไปเป็นสภาพคล่องเพื่อใช้งาน แล้วจ่ายคืนมาเป็นผลตอบแทน

ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างซิปเม็กซ์ มีบริการรูปแบบการสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าผ่านการรับโบนัส ซึ่งได้สูงสุดถึง 10.5 % จากสินทรัพย์ดิจิทัลของตัวเอง

เมื่อสิ่งที่เรียกว่า De-Fi เข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการเงินยุคใหม่ ก็เป็นการเร่งให้เทคโนโลยี Blockchain ได้รับความสนใจและพูดถึงเยอะขึ้น ในมุมของการหาผลตอบแทนก็เท่ากับว่าได้สร้างโอกาสในการลงทุนใหม่ ๆ มีเหนือกว่าการออม การฝากเงิน หรือให้เงินทำงานในแบบเดิม ๆ

Payments
การชำระเงินระหว่างกันหรือ Peer-to-peer ก็เป็นอีกหนึ่งข้อดีที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ให้สามารถทำได้อย่างปลอดภัย ตรวจสอบได้ และต้นทุนต่ำเพราะไม่มีพ่อค้าคนกลาง ยิ่งมี DeFi มาอีก ทำให้ระบบ Peer-to-peer ได้รับความนิยมมากขึ้นตามไปด้วย

DeFi payment กำลังช่วยให้ประชากรทั่วโลกที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรืออยากเข้าถึงระบบการเงินให้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น รวมถึงยังช่วยให้สถาบันการเงินขนาดใหญ่หันมาปรับปรุงกระบวนการทำงาน ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน คนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดก็คือลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการนั่นเอง

Tokenization
หนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ Ethereum Blockchain นักพัฒนานิ่งนี้มาต่อยอดออกเป็นโทเคนมากมายแล้วก็ปลดล็อคความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจอีกไม่รู้จบ

โทเคนคือสินทรัพย์ดิจิทัลชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการนำสินทรัพย์ในโลกมาแปลงหรือ Tokenization เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งมีทั้งหมดปลอดภัยและที่สำคัญคือสามารถโอนความมั่งคั่งให้แก่กันได้ทันที

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือโทเคนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เพราะสามารถนำมา Tokenization ผ่าน Ethereum Blockchain เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังแบ่งซื้อขายเป็นหน่วยย่อย ๆ ได้ ทำให้คนที่สนใจเข้าถึงการลงทุนได้มากขึ้นกว่าในอดีต

นักลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็สามารถใช้งานได้ด้วย C8P ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนจาก centralized exchanges เป็น decentralized exchanges เช่น UNISWAP

โครงการนี้มาจากฝีมือคนไทย คือทีมงาน Stock Radars ที่มีฐานผู้ใช้งานคือนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นจำนวนมาก ทีมงานต้องช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลง่ายมากขึ้นในขณะเดียวกันก็ต้องการขยายฐานไปยังต่างประเทศผ่าน Zipmex Indonesia

ประเด็นที่สำคัญ
แม้ว่ามูลค่าที่ถูกล็อคไว้ใน DeFi จะเป็นจำนวนที่ไม่เยอะหากเทียบกับขนาดของตลาดหุ้นสหรัฐ ($9+ billion vs $30+ trillion ) แต่ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่น่าติดตามว่าต่อจากนี้ความนิยมดังกล่าวจะมีมากขึ้นขนาดไหนและจะสามารถชนะการลงทุนแบบเดิม ๆ ได้หรือไม่

เนื่องจากผลตอบแทนจาก DeFi ทำให้คนหันมาหาเทคโนโลยี Blockchain มากขึ้นเพราะต้องการแสวงหารูปแบบของการสร้างโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อน

ในปัจจุบันสถาบันขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินหรือภาคเอกชน ก็เริ่มนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ ซึ่งมีความจำเป็นต้องรับประกันความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย ขณะที่ทางฝ่ายกำกับดูแลก็ต้องติดตามและปรับกฎเกณฑ์ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ นั่นจึงทำให้เรามีความเชื่อมั่นว่าการเงินรูปแบบใหม่นี้จะได้รับความนิยมและเติบโตขึ้นอีกในอนาคตอย่างแน่นอน